งานการเมือง ของ พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคปฏิวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2524 ต่อมาเข้าร่วมงานการเมืองพรรคก้าวหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ ในปี พ.ศ. 2535 และย้ายพรรคอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 มาเป็นกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ ซึ่งต่อมายุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[4] จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) [6]

ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ในงานจัดเลี้ยงวันเกิดครบรอบ 69 ปี พงษ์ศักดิ์ได้ขึ้นเวทีประกาศต่อหน้า ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิดว่า ขอยุติบทบาททางการเมืองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากอายุเยอะแล้วและได้ทำการเมืองมานานพอสมควร จึงอยากหยุดเพื่อพักผ่อน[7]

กรณีถูกออกหมายเรียกจาก ศอฉ.

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรียกให้ไปรายงานตัวในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ ห้องรับรอง อาคารอิงคยุทธบริหาร[8]

ใกล้เคียง

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา พงษ์ศักดิ์ คงแก้ว พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ พงษ์ศักดิ์ เหรียญทวนทอง พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล http://www.atnnonline.com/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8... http://www.khonthai.com/Election/Result/SS/0001200... http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=12715... http://www.moneychannel.co.th/Menu6/BreakingNews/t... http://www.thairath.co.th/people/view/pol/4543 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/... https://www.khaosod.co.th/politics/news_2685097